#discus เรื่องธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งปิดสาขา

โดย ศรัณยุตา รุ่งเรือง 13580561

เพื่อนคนแรก ให้เลือกข้างเชียร์คนใดคนนึงในข่าวเพียงอย่างเดียว
1.แพร วิภาวี 13580558 เชียร์ฝั่งธนาคารถูก

การที่ธนาคารปิดสาขา และลดจำนวนพนักงานถือเป็นเรื่องที่ปกติในวงการธนาคาร
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยที่ประสบปัญหานี้เท่านั้น อเมริกา ญี่ปุ่นและอังกฤษ ต่างก็มีการลดสาขาและจำนวนพนักงานลงเช่นเดียวกัน
จากสถิติพบว่า ตั้งแต่ ก.ย. 59 – ก.ย. 60 มีธนาคารในประเทศไทยแจ้งปิดสาขารวม 192 สาขา
5 อันดับแรก คือ กรุงไทย 79 สาขา, กสิกรไทย 73 สาขา, ธนชาต 69 สาขา และทหารไทย 20 สาขา ขณะที่ ไทยพาณิชย์ และ ซีไอเอ็มบีไทย อย่างละ 9 สาขา และมีพนักงานธนาคารที่ออกจากระบบประมาณ 1,351 คน

เนื่องจากธนาคารมีรายได้มาจากค่าธรรมเนียม 70 เปอร์เซ็นและดอกเบี้ย 30 เปอร์เซ็น แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยลดค่าธรรมเนียมและทำให้ไม่ต้องเสียธรรมเนียมจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดขององค์กรในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจโดยการลดสาขานี้จะทำการลดสาขาที่มีบทบาทน้อย และเพิ่มบริการอื่นๆแทน ในจำนวนนั้นมีการเปิดสาขาใหม่รวมอยู่ด้วย ทั้งที่เปิดในรูปแบบสาขาเต็มแบบเดิม และการเปิดสาขาในรูปแบบใหม่ รวมถึงลักษณะที่เปิดเป็นจุดการให้บริการเล็กๆตามชุมชน เพียงแต่จำนวนที่เปิดใหม่ อาจจะน้อยกว่าที่ปิดตัว

ซึ่งในแต่ละปีจะมีพนักงานที่ลาออกเป็นปกติอยู่แล้วประมาณปีละกว่า 3 พันคน ภายใน 3 ปีจะลดพนักงานได้ประมาณ 1 หมื่นคน และฝึกอบรมพนักงานที่มีอยู่ให้มีทักษะ และความรู้เพิ่มเติม เพื่อโยกย้ายไปทำงานในส่วนอื่นได้







2.คนที่ 2 ให้เลือกข้างว่าธนาคารผิด
แพร วิภาวี 13580558 เชียร์ฝั่งธนาคารผิด

การที่จะเข้ามาทำงาน ต้องเซ็นเอกสารสัญญาว่าจ้างเป็นวาระ ซึ่งการที่ธนาคารจะเลิกจ้าง ก็ย่อมไม่เหมาะสม ต้องเป็นไปตามวาระการว่าจ้าง คือถ้ามันหมดสัญญา ก็คือเหมาะสม แต่ถ้าหากสัญญาการว่าจ้างยังไม่ครบ การถูก lay off ก็กระทันหัน ส่งผลให้เกิดความลำบาก พนักงานไม่สามารถหางานใหม่ได้ทันท่วงที ต้องแจ้งล่วงหน้าหรือหาทางซับพอร์ตที่ดีมากกว่าการให้เงินค่าชดเชย การที่พนักงานต้องเกษียณอายุและหมดสัญญา ปีละ 2-3 พันคน แต่ก็ยังไม่ครบตามจำนวนที่ธนาคารแจ้ง และต้องมีผู้รับเคราะห์กรรมจากเหตุการนี้เป็นจำนวนไม่น้อย หากสุดท้ายแล้วธนาคารได้ทำการดังกล่าวดังที่แจ้งจริง จะไม่เกิดการร้องเรียนเช่นนี้ แต่การที่พนักงานออกมาร้องเรียนอันเนื่องมาจากการบริการจัดการที่ไม่ดีของธนาคาร







คนที่ 3 ให้อธิบายในมุมมองว่าถูกทั้งคู่
3.จิ๊บ ศรัณยุตา รุ่งเรือง 13580561 ธนาคารและพนักงานถูกทั้งคู่

ด้านเจ้าของธนาคาร
จากเว็บไซต์ https://money.sanook.com/532497/ ได้ระบุว่า จากภาพที่มีการเผยแพร่ในโลกออนไลน์ พบว่า สาขาที่มีแผนจะปิดการให้บริการ จะมีตั้งแต่ธนาคารทั่วไป ไปจนถึงศูนย์ธุรกิจเอสเอ็มอี (SME) และสาขาธนบดีธนกิจ ที่เป็นการให้บริการลูกค้าของธนาคารในรูปแบบ Private Bank ทั้งนี้เมื่อดูข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ระบุว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 59-กันยายน 60 มีธนาคารพาณิชย์แจ้งปิดรวม 192 สาขา โดย 5 อันดับแรก ที่มีการปิดสาขามากที่สุด คือ กรุงไทย 79 สาขา, กสิกรไทย 73 สาขา, ธนชาต 69 สาขา, ทหารไทย 20 สาขา, ไทยพาณิชย์ และซีไอเอ็มบี ไทย 9 สาขา

ซึ่งแสดงได้ว่า การที่เจ้าของธนคารไทยพาญิชย์ได้ปิดตัวลง ถือเป็นเรื่องปกติที่ธนาคารอื่นๆก็ปิดสาขาลงกันทั้งนั้น และยังเป็นธนาคารที่ปิดสาขาลงน้อยกว่าธนาคารอื่นๆที่ไม่ได้ถูกพูดถึงในข่าว

สาเหตุและความเป็นไปได้ที่ทำให้ธนาคารไทยพาณิชย์ ตัดสินใจปิดสาขาลง เป็นไปได้ว่า ทางธนาคารจำต้องปรับตัวให้เข้ากับรสนิยม และการใช้บริการธนาคารของคนในยุคปัจจุบันมากขึ้น
พูดถึงความนิยมในอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง คนที่เคยใช้งานสามารถจินตนาการได้ว่า ธุรกรรมทางการเงินบนสมาร์ทโฟนจะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าของธนาคารได้ทุกที่ ตลอด 24 ชั่วโมง และที่สำคัญแอปพลิเคชันธนาคารบนสมาร์ทโฟนนั้น นับวันก็รองรับฟีเจอร์ที่มีความสลับซับซ้อนได้มากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่าง แอปพลิเคชัน SCB Easy ของธนาคารไทยพาณิชย์เอง ก็จะเห็นได้ชัดเจนอยู่แล้วว่า ภายในแอปพลิเคชันรองรับทั้งการจ่ายบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต การโอนเงินไปยังบุคคลที่สอง ไปจนถึงการซื้อ-ขาย-สลับกองทุนรวม ก็สามารถทำได้จบในแอปพลิเคชันเดียว ทำให้ความสำคัญของธนาคารรูปแบบเดิม ถูกลดทอนความสำคัญลงไป เพราะผู้คนสามารถเข้าถึง 'ธนาคาร' ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้โดยตรงนั่นเอง พร้อมกันนี้ ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ไม่ได้มีแค่ธนาคารไทยพาณิชย์เพียงรายเดียวที่มีการปรับปรุงหน้าแอปพลิเคชัน ธนาคารอื่นๆ อย่างธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีการปรับหน้าแอปพลิเคชันใหม่เช่นกัน ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า การปิดสาขาของธนาคารล้วนเกิดจากองคาพยพที่เกิดขึ้นเป็นลูกโซ่ โดยเริ่มจากเทคโนโลยี มนุษย์ ไลฟ์สไตล์ กระทั่งมาถึงธนาคาร ที่จำต้องปรับให้เข้ากับยุคสมัยที่กำลังเปลี่ยนผ่าน
ส่วนเรื่องพนักงานที่ต้องลดจำนวนลง มีความเป็นไปได้ว่า พนักงานธนาคารเดิมอาจถูกโยกย้ายตำแหน่ง โดยเฉพาะในกลุ่มพนักงานที่มีความสามารถในด้านดิจิทัล ก็มีโอกาสไปทำในสายงานที่เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีการเงิน หรือฟินเทค (FinTech) ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีหน่วยธุรกิจที่ตั้งขึ้นใหม่เพื่อรับกับการแข่งขันในกลุ่มฟินเทค ซึ่งเป็นการก้าวหน้าที่ดีมากอีกทางหนึ่ง ดังนั้นสามารถบอกได้ว่าการที่เจ้าของธนาคารไทยพาญิชย์ได้ปิดตัวลง ถือเป็นเรื่องที่ไม่ผิดและไม่ได้ส่งผลเสียต่อพนักงาน


ด้านพนักงาน
จากเหตุการณ์ สหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์ได้ออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมเมื่อวันที่ 26 ม.ค.ที่ผ่านมา โดย นายไวทิต ศิริสุวรรณ ประธานสหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์ ได้เชิญชวนให้พนักงานและสมาชิกของสหภาพรวมตัวชุมนุมบริเวณลานน้ำพุธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่รัชโยธิน ตั้งแต่เวลา 12.00-12.45 น. เพื่อเรียกร้อง กรณีเงินโบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือนไม่เป็นธรรม รวมทั้งความกังวลที่ธนาคารประกาศลดขนาดองค์กร โดยแจ้งว่าจะรวมตัวกันทุกวันจนกว่าจะได้รับการแก้ไขปัญหา เช่น ทบทวนการพิจารณาการปรับขึ้นเงินเดือน ปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ขอให้มีโครงการสมัครใจลาออก โดยเฉพาะกรณียุบควบรวมหน่วยงาน ห้ามบังคับหรือกลั่นแกล้งให้พนักงานมีผลกระทบในทุกกรณี ทั้งเรื่องการย้ายไปปฏิบัติตามที่นายจ้างสั่งหากพนักงานไม่ยินยอมและได้รับผลกระทบ ถือเป็นเรื่องของสิทธิ์ของพนักงานที่จะต้องได้รับการคุ้มครองดูแลที่ดีจากธนาคารอยู่แล้ว โดยจากเว็บไซต์ http://m.tnews.co.th/contents/407699 ได้ระบุว่า
สหภาพแรงงานธนาคารไทยพาณิชย์ได้ยื่นหนังสือต่อ นายอาทิตย์ นันทวิทยา กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ เพื่อร้องเรียนพิจารณาการปรับขึ้นเงินเดือนไม่เป็นธรรมและให้ธนาคารแก้ไข พร้อมคืนความเป็นธรรมให้กับสมาชิกและพนักงาน หลังจากสหภาพแรงงานได้รับเรื่องร้องเรียนว่าได้รับเงินโบนัสการปรับขึ้นเงินเดือนไม่เป็นไปตามที่เคยชี้แจงไว้

กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลัง นายอาทิตย์ ออกมาเปิดเผยว่าใน 3 ปีนี้ หรือระหว่างปี 61-63 ธนาคารเตรียมปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ทั้งแผนธุรกิจและบุคลากรโดยจะปรับเปลี่ยนจากสาขาเดิมที่มีอยู่กว่า 1,100 สาขา ไปเป็นศูนย์ธุรกิจ หรือบีซีเนส เซ็นเตอร์ ให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะเอสเอ็มอี ซึ่งจะทำให้เหลือสาขา 400 แห่งทั่วประเทศ ด้านบุคลากรธนาคารจะไม่รับพนักงานใหม่เพิ่มขึ้นมากนัก และพนักงานเดิมของธนาคารจะทยอยลดลงเพราะที่ผ่านมาพนักงานลดลง 3,000 คนต่อปีอยู่แล้ว รวมทั้งจะปรับให้พนักงานไปทำงานร่วมกับศูนย์ธุรกิจจากปัจจุบันมี 27,000 คน คาดว่าจะเหลือ 15,000 คน
ซึ่งส่งผลให้พนักงานต้องลำบากในการหางานใหม่ รวมไปถึงการที่จะเข้ามาทำงาน ต้องเซ็นเอกสารสัญญาว่าจ้างเป็นวาระ ซึ่งการที่ธนาคารจะเลิกจ้าง ก็ย่อมไม่เหมาะสม ต้องเป็นไปตามวาระการว่าจ้าง ถ้ามันหมดสัญญาก็ต้องเป็นไปตามนั้น แต่ถ้าสัญญาไม่หมด ถูก lay off ก็จะเป็นการไม่เป็นธรรมต่อพนักงาน







คนที่ 4 ให้อธิบายในมุมมองว่าผิดทั้งคู่
4.ออย วริศรา 13580554 ธนาคารและพนักงานผิดทั้งคู่

ธนาคารผิด
ภายในเวลา 3 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB จะลดสาขาจาก 1,153 สาขา เหลือ 400 สาขา และลดจำนวนพนักงานจาก 27,000 คน เหลือ 15,000 คน โดยให้เหตุผลว่า ในแต่ละปีจะมีพนักงานลาออกเฉลี่ยปีละ 2-3 พันคน ซึ่งเป็นการลาออกตามวาระเกษียณและลาออกเอง โดยธนาคารไม่มีนโยบายปลดพนักงานออก จึงจะใช้การลดรับพนักงานใหม่เป็นหลัก

จากข้อมูลข้างต้น เท่ากับว่า พนักงานที่มีโอกาสได้ทำงานกับ SCB จะมีแค่ 15,000 คนทั่วประเทศ และแทบจะไม่รับพนักงานเพิ่มเติมมากนักเหมือนก่อนหน้านี้ เพราะการลดจำนวนของสาขาที่ทำให้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้พนักงานมากเท่าเดิม

ฉะนั้นการที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบธนาคารใหม่ ที่จะมุ่งก้าวเข้าสู่ดิจิตัลแบงค์ ลดต้นทุน และเพิ่มกำไร ทำให้ประชากรในประเทศ มีงานทำลดน้อยลง เพราะจากปกติที่จะมีการรับพนักงานเข้ามาทุกปี จนส่งผลให้ปัจจุบันมีพนักงาน 27,000 คน แต่นี่กลับรอคนออก และแทบจะไม่รับพนักงานเพิ่มเติมเลย

ธนาคารคิดแต่เรื่องต้นทุนและกำไรในส่วนผลประโยชน์ของตนเอง โดยไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม ที่ประชากรในประเทศจะต้องเดือดร้อนจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างนี้ ประชากรจะมีตัวเลือกในการทำงานน้อยลง และทำให้ประชากรมีโอกาสเสี่ยงที่จะตกงานเพิ่มขึ้น เพราะอนาคตเมื่อใช้ระบบดิจิตัลแบงก์ สิ่งที่ธนาคารต้องการจากพนักงานใหม่คือความรู้และความเชี่ยวชาญทางระบบเทคโนโลยีเครื่องกลต่างๆ จะไม่ใช่แค่ผู้ที่จบปริญญาตรีทางบัญชีหรือคอมพิวเตอร์ธรรมดา แต่จะต้องเก่งและเฉพาะด้านมาก ทางธนาคารให้เหตุผลว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปจึงต้องปรับปรุงรูปแบบโครงสร้างโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ แต่เทคโนโลยีที่นำมาเข้ามาดีจริงใช่หรือไม่ พูดถึงแต่ข้อดีที่จะเป็นการลดต้นทุน และยุคสมัยของโลกที่มันเปลี่ยนไปแล้ว แต่ทำไมไม่เห็นพูดถึงด้านที่ระบบผิดพลาดบ่อยที่โอนผิด ถูกแฮ็ก หรือระบบรั่วจากการโดนเจาะข้อมูลทางการเงิน ปัญหามันคงไม่ได้อยู่ที่ว่าโอนไปให้ใครแล้วต้องไปตามทวงเงินคืน
แต่ปัญหามันคือความไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันปัญหาของระบบ SCB ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้ใช้ธุรกรรมออนไลน์ของ SCB พบได้บ่อย
สังเกตได้จากข่าว เช่น จากกระทู้พันทิปนี้ https://pantip.com/topic/36228989 ที่โอนเงินผ่าน SCB EASY ระบบขัดข้อง เงินหาย ธนาคารปัดความรับผิดชอบ ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็ทำตามขั้นตอนปกติแต่ตอนกดยืนยันแอพเด้งว่าทำรายการไม่สำเร็จ ให้ทำรายการใหม่ ซึ่งยอดเงินที่เหลือในบัญชีก็ยังขึ้นเท่าเดิม จึงทำการโอนอีกรอบ แล้วแอพก็ขึ้นทำรายการไม่สำเร็จเหมือนเดิม จากนั้นก็มีข้อความส่งมาว่าได้โอนเงินไป 2 รอบแล้ว ทั้งๆที่ในระบบแอพขึ้นว่าทำรายการไม่สำเร็จ โดยธนาคารให้ไปติดตามเงินเอาเอง ระยะเวลาโอนของสองครั้งห่างกัน 4 นาที จึงไม่ใช่ความผิดของธนาคาร แสดงว่าเราต้องไปตามเงินเอาเองจากคนที่เราโอนไป อายัดเงินของเราเองก็ไม่ได้ ทำไรไม่ได้ ธนาคารปัดความรับผิดชอบ เจ้าของกระทู้จึงต้องไปตามขอคืนจากคนที่โอนไปให้แทน ตามมา 3 วันถึงได้คืน ทั้งๆที่ไม่ใช่ความผิดของเราแต่เราต้องเดือดร้อนและเสียเวลา และยังต้องแก้ไขสถานการณ์เองอีกโดยที่ธนาคารไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเราเลย และเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับหลายบัญชี ซึ่งทีมงานไซเบอร์ตรวจสอบพบการทำงานผิดปกติของคุกกี้บนกูเกิลโครมสามารถเข้าบัญชีผู้อื่นได้ทันที https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9570000061573 และการที่ธนาคาร SCB จะปรับโครงสร้างโดยใช้เทคโนโลยีหมดแบบนี้มันจะดีจริงใช่ไหม ในเมื่อแค่ Application ธุรกรรมออนไลน์ยังผิดพลาดขนาดนี้ และประชากรจะวางใจในระบบได้ยังไง

และจากแผนการณ์ที่ SCB จะลดสาขาที่มีบทบาทน้อย และเพิ่มบริการอื่นๆแทน เช่น SCB Express, SCB Investment Center, SCB Business Center, SCB Service และบริการผ่าน Digital SCB Easy ซึ่งจะเพิ่มฟีเจอร์ทางธุรกรรมออนไลน์หลายโครงการ ทางธนาคารจะสามารถมีบุคลากรคอยให้บริการและปรึกษาเมื่อระบบผิดพลาดต่อผู้คนในประเทศกว่า 70กว่าล้านคน เพียงพอใช่ไหม เพราะขนาดบุคลากร 27,000 ยังทำงานช้าและรอนานเลย แต่นี่เหลือแค่ 15,000 คน


พนักงานผิด
การประกาศว่าจะปรับลดสาขาและพนักงานลงจำนวนมาก อาจดูน่ากลัวและมีผลกระทบ แต่ความเป็นจริงนี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในแทบทุกอุตสาหกรรม และเกิดขึ้นทั่วโลก ฉะนั้นทางของแรงงานคือ ต้องพัฒนาทักษะและความสามารถของตัวเอง ให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก เพราะต่อไปโลกของการแข่งขันจะสูงมาก ถ้าแรงงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สมควรถูกเลือก ฉะนั้นบุคลากรต้องพัฒนาทักษะให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและยุคสมัยที่เปลี่ยนไป การที่บุคลากรย่ำอยู่กับที่ก็จะไม่สามารถทำงานออกมาได้ดีและส่งผลให้องค์กรเสียเปรียบกว่าองค์กรอื่นได้ ถ้าอยากจะเป็นคนที่ถูกเลือก ก็ต้องทำตัวให้สมควรกับที่เขาจะต้องเลือกด้วย เพราะคงไม่มีใครอยากจะได้พนักงานที่ไร้ประสิทธิภาพ ใครๆก็อยากจะได้คนเก่งมาทำงาน เพราะเงินเดือนก็ต้องจ่ายเท่ากันอยู่ดี





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

# MOCA

# สรุปคลาสอาจารย์จาก ม.สุโขทัย PESTEL

# FEMINISM